วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

10 อันดับสัตว์น้ำที่อันตราย
อันดับที่ 10 ได้แก่ ปลากระเบน (อังกฤษ: Stingrays, Rays, อันดับใหญ่: Batoidea) หมายถึง ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพ่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ มีหลายวงศ์ หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น ในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีหางสั้น รูปร่างกลมคล้ายจานข้าว ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงพิษที่โคนหาง 1 – 2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้ ในวงศ์ปลากระเบนไฟฟ้า (Narcinidae และ Torpedinidae) พบในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากกระเบนชนิดอื่น ๆ และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย

อันดับที่ 9 ได้แก่ ปลาไหลมอเรย์ มีอยู่ประมาณ 70 ชนิด ในประเทศไทยพบไม่ต่ำกว่า 13 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลอันดามัน ในอ่าวไทยพบน้อยมาก รูปร่างของปลาไหลมอเรย์ : ทุกตัวหน้าตาคล้ายกัน รูปร่างเหมือนปลาไหล ลำตัวยาว ผิวหนังเรียบหนา ลื่น ไม่มีเกล็ดปกคลุม ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กสำหรับจับเหยื่อไม่ให้ดิ้นหลุดจากปาก ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกัน ไม่มีครีบหู จุดเด่นของปลาไหลมอเรย์ คือ มีอวัยวะใช้รับกลิ่นหนึ่งคู่ที่ปลายปาก เรียกว่า ” Nostril ” มีลักษณะเป็นแท่งเล็กๆยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง จมูกพวกนี้ไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่างๆ เช่น กุ้งบาดเจ็บ ปลาบาดเจ็บ หน้าตาน่ากลัวมีเขี้ยวแหลม อ้าปากเป็นระยะ หลายคนเข้าใจว่า พฤติกรรมดังกล่าวคือการอ้าปากขู่ แต่ความจริงแล้วนั่นคือส่วนหนึ่งของวิธีการหายใจ อาหารของปลาไหลมอเรย์ คือ กุ้งและปู เป็นพวกปลากินเนื้อ ซึ่งเป็นหนึ่งในปลาล่าเหยื่อสำคัญที่สุดออกหากินเวลากลางคืน จัดเป็นผู้ล่าสัตว์เล็กมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของแนวปะการัง ในเวลากลางวันปลาไหลมอเรย์จะหลบอยู่ตามซอกโพรงโผล่แต่หัวยื่นออกมาเฝ้าระวังเหยื่อหรือศัตรู แม้รูปร่างจะน่ากลัว แต่ปลากลุ่มนี้ไม่ดุร้าย โอกาสที่จะโดนกัด มักเป็นช่วงผสมพันธุ์หรืออยู่ในโพรง เรามองไม่เห็นไปจับข้างโพรง จึงโดนกัด แม้ว่าปลาไหลมอเรย์จะไม่มีเขี้ยวพิษอย่างงูทะเล แต่เมือกในปากก็เป็นพิษอ่อนๆ การป้องกันและรักษา ถ้าพบปลาไหลอย่าเข้าใกล้ อย่าล้วงมือเข้าไปในโพรงหิน หรือซากเรือจม อย่าเล่นกับปลาไหลที่ไม่คุ้นเคย เมื่อถูกกัดจะเกิดบาดแผลลึกจากเขี้ยวของปลา ทำให้เลือดออกมาก และอาจหมดสติได้ ต้องนำผู้ป่วยขึ้นจากน้ำ ห้ามเลือด และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยเร็ว แผลที่ถูกกัดมักมีขนาดลึกต้องรีบทำความสะอาดแผลให้ทั่วถึง ปลาไหลมอเรย์ ถือเป็นผู้ควบคุมปริมาณสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังโดยมักพบตามหลืบซอกของโครงสร้างปะการัง ถ้าบริเวณใดไม่พบปลาไหลมอเรย์เลยแสดงว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นต่ำโดยเฉพาะกุ้ง ปู

อันดับที่ 8 ได้แก่ สิงโตทะเล หลายๆคนอาจจะคิดว่ามันน่ารักแต่จะมีซักกี่คนที่ชอบทำร้ายมนุษย์ โดยการกัด ฮาฮา
 
อันดับที่ 7 ได้แก่ จระเข้ จระเข้ เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae ชอบอาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ผิวหนังแข็งเป็นเกล็ด (osteoderm) ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำเพราะชอบหากินในน้ำ ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii)

อันดับที่ 6 ได้แก่ งูทะเล งูทะเล (อังกฤษ: Sea Snake) เป็นชื่อสามัญ (อังกฤษ: Common Name) ที่ใช้เรียก เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู ที่อาศัยและดำรงชีวิตอยู่ในทะเลตลอดชีวิต ไม่เคยขึ้นมาบนบกเลย ยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ในบางชนิด งูทะเลเป็นงูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae และ Laticaudinae งูทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเลหรือปากแม่น้ำชายฝั่งหมด ยกเว้น ชนิด Hydrophis semperi และ Laticauda crokeri เท่านั้น ที่พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดในประเทศฟิลิปปินส์ งูทะเล ทั่วโลกมีทั้งหมดประมาณ 50 ชนิด[1] พบตั้งแต่มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย เชื่อว่าเป็นงูบกที่พัฒนาการลงมาสู่น้ำ โดยปกติ งูทะเลจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งน้ำตื้นที่อบอุ่น หากินปลาเป็นอาหารหลัก มีรูปร่างคล้ายงูบก แต่มีส่วนที่แตกต่างออกไปคือ เกล็ด บางชนิดมีเกล็ดเป็นมัน บางชนิดมีเกล็ดฝังอยู่ใต้ผิวหนัง ลำตัวลื่นคล้ายปลา หางแบนราบคล้ายใบพาย ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใช้สำหรับว่ายน้ำ สีสันลำตัวเป็นปล้อง จึงทำให้จำแนกด้วยตาเปล่าได้ยากว่าชนิดไหนเป็นชนิดไหน โดยทั่วไปงูทะเลมีความยาวเต็มที่ประมาณ 50 – 70 เซนติเมตร แต่ก็มีบางชนิดที่ยาวได้ถึง 2 เมตร และมักอาศัยตามทะเลโคลนหรือทะเลที่มีน้ำขุ่นมากกว่าทะเลน้ำใส[2] ฟันของงูทะเลเป็นเขี้ยวสั้น ๆ ยกเว้นในสกุล Emydocephalus ที่มีฟันแข็งเรียงเป็นแถวหลังเขี้ยวบนกรรไกรบน อาจมีมากถึง 18 ซี่ งูทะเลจะมีชิ้นเนื้อเล็ก ๆ คล้ายฟองน้ำ ซึ่งจะช่วยขวางกั้นไม่ให้น้ำเข้าสู่รูจมูกเมื่อต้องการดำน้ำ รูจมูกของงูทะเลไม่มีอาณาเขตที่แน่นอน แต่จะอยู่สูงกว่างูบก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่รูจมูกได้โดยง่าย ปอดข้างซ้ายของงูทะเลลดรูปลง ส่วนปอดข้างขวาจะพัฒนาให้ยาวขึ้น ในบางกรณีพบว่ายาวจนถึงรูก้น นอกจากจะมีปอดเอาไว้เพื่อหายใจแล้ว ปอดที่ยาวขึ้นนี้เชื่อว่าจะช่วยทำหน้าที่ช่วยในการหายใจ จึงสามารถเคลื่อนไหวได้ดีในน้ำทะเล เนื่องจากมีการปรับตัวทางด้านร่างกาย ทำให้สามารถเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วไปทางด้านหน้าและด้านหลัง แต่เคลื่อนตัวได้ไม่ดีเมื่ออยู่บนบก งูทะเลสามารถลอยตัวอยู่ที่ผิวหน้าน้ำทะเลได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง งูทะเลส่วนใหญ่เป็นงูพิษ และเป็นงูพิษร้ายแรงด้วย พิษของงูทะเลเป็นพิษที่ทำลายระบบประสาท เช่นเดียวกับงูในจำพวกงูสามเหลี่ยม อาการที่โดนพิษจะออกฤทธิ์ช้ากว่างูบก โดยจะออกฤทธิ์เมื่อถูกกัดไปแล้วนานถึงครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง จึงมักมีผู้ถูกงูทะเลกัดเสียชีวิตบ่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว แต่งูทะเลก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือ นกอินทรี ที่โฉบงูทะเลกินเป็นอาหาร งูทะเลที่พบในประเทศไทยมีหลายสิบชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ งูสมิงทะเลปากดำ (Laticauda laticaudata) ที่มีความยาวได้ถึง 2 เมตร และมีพิษร้ายแรงที่สุด และมีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ไม่มีพิษ คือ งูผ้าขี้ริ้ว (Acrochordus granulatus) โดยคนไทยมักจะเรียกชื่องูเหล่านี้รวมกัน เช่น งูผ้าขี้ริ้ว งูคออ่อน งูแสม งูฝักมะรุม งูชายธง เป็นต้น ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นงูแต่ละชนิดกัน งูทะเลเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเล ส่วนมากหางจะมีลักษณะแบนคล้ายใบพายเพื่อประโชน์ในการว่ายน้ำ ทั่วโลกมีงูทะลอยู่ราว 16 สกุล ประมาณ 50 ชนิด[3] แพร่กระจายอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกและชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย งูทะเลอาจว่ายทวนน้ำเข้าไปในแหล่งน้ำจืด หรือในฤดูฝนอาจว่ายเข้าไปบริเวณปากน้ำที่เป็นน้ำกร่อย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้มีปลาเป็นจำนวนมากจึงทำให้งูทะเลชุกชุมในบริเวณดังกล่าว งูทะเลเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้ายถึงแม้จะอยู่ในฤดูผสมพันธุ์ พวกมันมีพิษเอาไว้เพื่อการป้องกันตัวหรือหาอาหารเท่านั้น การที่คนเราถูกงูทะเลกัดเนื่องจากการเหยียบหรือจับต้องตัวมันขณะที่ติดมากับอวนของเรือประมง

อันดับที่ 5 ได้แก่ Lionfish ปลาสิงโต (Lionfish) เป็นปลาทะเลที่มีพิษ ในวงศ์ Scorpaenidae ภาษาละตินหมายถึง แมงป่อง มีหลายสปีชีส์ ใน 2 จีนัส คือ Pterois และ Dendrochirus มีครีบยาวและแตกแขนงออกมากมาย และมีลวดลายทางสีแดง สีน้ำตาล สีดำ หรือสีขาว อาศัยในทะเลเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิก ค.ศ. 2003 ถูกพบในแนวปะการังเขตอบอุ่นทางตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลแคริบเบียน

อันดับที่ 4 ได้แก่ Puffer fish ตามปรกติปลาปักเป้าจะมีสภาพ เหมือนปลา ทั่วไป มีหนามสั้น หรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือลูกบอลลูน หรือคล้ายผลทุเรียนลูกกลม ๆมีหนามแหลม ๆ สั้นหรือยาวได้อย่างชัดเจน ทางด้านวิชาการได้จัดแบ่งปลาปักเป้าไว้ 2 วงศ์ ได้แก่Tetraodontidae ลักษณะปลาปักเป้า ในวงศ์นี้ จะมีฟัน 4 ซี่ มีผิวตัวค่อนข้างเกลี้ยง อีกวงศ์หนึ่งเรียกว่า Diodontidae ในวงศ์นี้ มีฟัน 2 ซี่ คล้ายจงอยปากนกแก้ว และมีหนามรอบตัว เห็นได้ชัดเจนกว่าชนิดแรก ในประเทศไทย มีปลาปักเป้าทั้งชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมกันประมาณราว 20 ชนิด ปลาปักเป้าทะเล (marine puffer fish) มีชื่อเรียกต่างกันไป ได้แก่toad fish, globe fish, toado , swell fish, porcupine fish และ balloon fish เป็นต้น ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักดี และคุ้นเคยของชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขามักจะทำลายมันทิ้งหรือโยน มันกลับลง ไปในทะเล ในประเทศญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า ” fugu ” เนื้อปลาปักเป้าสดตามภัตตาคารใหญ่ ๆ มีราคาสูงมากเนื่องจากชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานกันมาก เนื้อปลาปักเป้าสดที่จำหน่ายจะต้อง เตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นอย่างดีเพื่อลดอันตรายจากพิษของปลาให้มากที่สุด โดยชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นปลาดิบ (Sushi) จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก แม้กระนั้นในช่วง 20 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1955-1975 มีผู้บริโภคเนื้อปลาปักเป้าเป็นพิษรวม 3,000 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 51 เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ เนื้อปลาปักเป้าเป็นที่นิยมของชาว ญี่ปุ่นก็คือเนื้อปลามีรสชาติที่วิเศษ หวาน กรุบ และอร่อยดี สำหรับประเทศไทย มีผู้ได้รับพิษ จากการ บริโภคปลาปักเป้าทั้งชนิดน้ำจืด และชนิดน้ำเค็ม ซึ่งมีรายงานทางการแพทย์บ้างเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะรายงานผู้ป่วยในภาคอีสาน ชาวบ้านจะนำปลาปักเป้าที่จับได้จาก หนองน้ำ ลำธาร มาต้มหรือย่าง และแบ่งรับประทานกัน

อันดับที่ 3 ได้แก่ Stonefish หลายคนบอกว่าปลาหินเป็นผู้ร้ายอันดับหนึ่งของแนวปะการัง เพราะพวกเขาไม่เพียงมีพิษ แต่ยังพรางตัวกลมกลืนกับพื้น ดูเท่าไหร่ก็แยกแทบไม่ออก แต่ถ้าเราไปโดนเข้า รับรองปวดจนน้ำตาไหล บางชนิดถึงขั้นไปสวรรค์ง่ายๆ ปลาหินอยู่ในครอบครัว Scorpaenidae พวกเดียวกับปลาสิงโตและปลามังกร เท่าที่ผมค้นเจอ มีรายงาน 388 ชนิดใน 45 สกุล ถือว่าเป็นกลุ่มปลาที่มีความหลากหลายสูงมาก แถมพวกเขาหลายชนิด ยังมีความเปลี่ยนแปลงของสีและรูปร่าง ทำให้แยกชนิดยากขึ้นไปอีก จุดเด่นของปลาครอบครัวนี้คือหัวโต ปากกว้าง ตาโต ส่วนใหญ่มีติ่งเนื้ออยู่ตามตัว ที่สำคัญคือพวกเขามีก้านครีบที่มีพิษ (เกือบทุกชนิด) ครีบที่แน่ๆว่ามีพิษคือครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้อง พิษพวกนี้อยู่ในก้านครีบ จะไหลออกมาเมื่อหนังตรงนี้ฉีกขาด บางชนิดถึงขั้นมีต่อมพิษอยู่ใต้ก้านครีบ เมื่อก้านครีบโดนกด พิษจะไหลออกมาเข้าแผล พวกนี้มักมีพิษรุนแรงและมากเป็นพิเศษ พิษของปลาหินมีไว้เพื่อใช้ในการป้องกันตัว ไม่ได้มีไว้สังหารเหยื่อมากิน เทคนิคล่าเหยื่อของพวกเขาคือรออยู่เงียบๆ เมื่อปลาหรือสัตว์เล็กเข้ามาใกล้โดยไม่ระวังตัว ปลาหินจะจัดแจงอ้าปากให้กว้างแล้วฮุบพรวดเดียว เหยื่อไม่มีเหลือ อย่างดีก็เหลือแต่หางปลายื่นออกมานอกปาก
 
อันดับที่ 2 ได้แก่ Tiger Shark ฉลามเสือ (Tiger shark) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ฉลามเสือเป็นฉลามน้ำอุ่นที่อพยพเเละออกลูกเป็นตัวชนิดเดียวในวงศ์ Galeocerdo ฉลามเสือเป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่อาจจะยาวได้ถึง 5เมตรซึ่งทำให้มันเป็นหนึ่งในฉลามขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งโดยปรกติเเล้ว มันจะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาวประมาณ 2-3เมตร ฉลามเสือนั้นสามารถพบได้ในทะเลเขตร้อนทั่วไป ซึ่งพบมากในมหาสมุทรเเปซิฟิกตอนกลาง ฉลามเสือนั้นจะอยู่ในเส้นศูนย์สูตรตลอดฤดูหนาว เเละมักจะอยู่ในน้ำลึกที่บางทีอาจจะลึกได้ถึง 900เมตร เเต่บางครั้ง ฉลามเสือก็สามารถพบได้ในที่ไกลๆเช่น มหาสมุทรเเปซิฟิกตะวันตก, ญี่ปุ่นเหนือหรือนิวซีเเลนด์ ชื่อของฉลามเสือนั้นได้มาจากลายข้างตัวที่มีลักษณะเหมือนเสือซึ่งจะจางลงเมื่อโตขึ้น ฉลามเสือนั้นได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่อันตรายต่อมนุษย์ที่สุดถึงเเม้ว่าจำนวนการโจมตีของมันนั้นจะต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ ฉลามเสือเป็นฉลามที่โจมตีเเละฆ่าคนบ่อยเป็นอันดับที่สองรองจากฉลามขาว เพราะความที่ฉลามเสือชอบว่ายน้ำไปในปะการังตื้น, ท่าเรือเเละลำคลองเพื่อตามล่าเหยื่อนี้เองที่เป็นสาเหตุของการโจมตี ถึงเเม้ว่าฉลามเสือจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ มันก็ยังได้รับสถานะเสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ด้วยเหตุผลมาจากการล่าหูฉลาม, การประมงที่เกินพอดีเเละการล่าเอาตับที่มีไวตามิน Aสูง ฉลามเสือนั้นเป็นนักล่าสันโดษชั้นยอดที่ส่วนมากจะหากินตอนกลางคืน อาหารของมันนั้นมีหลากหลาย เช่น สัตว์กระดอง, ปลา, เเมวน้ำ, นก, ฉลามขนาดเล็กกว่า, หมึก, เต่า, งูทะเล, พะยูน, หอย, กระเบน, ซากวาฬหรือตัววาฬเองเเละโลมาซึ่งจะหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำไปในพื้นที่ๆมีฉลามเสืออยู่ นอกจากนี้ ฉลามเสือยังได้ชื่อว่ากินทุกอย่างเเม้กระทั่งฉลามเสือด้วยกันอีกด้วย ของเเปลกๆที่หาพบได้ในท้องฉลามเสือนั้นได้เเก่ ทะเบียนรถ, กระป๋องน้ำมัน, ยางรถยนต์เเละลูกเบสบอล เพราะการกินไม่เลือกหน้าของมันที่เองที่ทำให้ฉลามเสือได้ชื่อว่า “ถังขยะ” ฉลามเสือเป็นฉลามที่กัดเเล้วไม่ว่ายจากไปเหมือนอย่างที่ฉลามขาวทำ ฉลามเสือนั้นปรกติจะยาวประมาณ 3-4.2เมตร เเละหนัก 385-635กก. เเต่บางครั้งตัวผู้สามารถยาวได้ถึง 4.5เมตรเเละตัวเมีย 5.5เมตร ซึ่งบางทีก็สูสีกับฉลามขาวเลยทีเดียว ฉลามเสือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกมานั้นเป็นตัวเมียที่ถูกจับเมื่อปี 2500 ซึ่งยาว 7.4เมตรเเละหนัก 3110กก. สีของฉลามเสืออาจจะมีไปตั้งเเต่ฟ้าจนถึงเขียวอ่อน เเละท้องสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลายเสือของฉลามเสือนั้นจะเห็นได้เด่นชัดที่สุดในตัวลูกเเละจะจางลงเมื่อโต ฉลามเสือมีหัวรูปลิ่มซึ่งช่วยให้มันหมุนตัวได้เร็ว ร่างกายส่วนบนของฉลามเสือนั้นประกอบไปด้วยรูเล็กๆที่ช่วยในการตรวจจับสนามไฟฟ้า นอกจากนี้ มันยังมีเส้นข้างลำตัวที่ช่วยในการตรวจจับความเคลื่อนไหวเเละกระจกตาที่ช่วยในการมองเห็น การปรับตัวทั้งหมดนี้ช่วยให้ฉลามเสือสามารถหาอาหารในความมืดเเละตรวจจับเหยื่อที่ซ่อนอยู่ ได้ ฉลามเสือยังมีครีบยาวที่ช่วยในการทรงตัวในขณะที่ว่ายน้ำ เเละครีบหางบนที่ยาวนั้นก็ช่วยเพิ่มสปีดในการว่ายน้ำของมัน ฟันของฉลามเสือนั้นถูกออกเเบบมาเพื่อตัดผ่านเนื้อ, กระดูกเเละของเเข็งๆอย่างกระดองเต่า ซึ่งฟันของฉลามเสือนั้นจะงอกออกมาทดเเทนฟันที่หลุดไปเรื่อยๆ

อันดับที่ 1 ได้แก่ Box Jellyfish แมงกะพรุนกล่อง (box jellyfish) ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักจะสร้างพิษอันทรงพลังอย่างน่าสะพรึงกลัวเพื่อให้เหยื่อ เช่น ปลา หรือ กุ้งหมดสติหรือเสียชีวิตทันทีเพื่อไม่ให้การดิ้นรนหลบหนีของเหยื่อสร้างความเสียหายให้กับหนวดที่แสนบอบบางของมัน พิษของแมงกะพรุนกล่องถือว่าเป็นหนึ่งในพิษที่เป็นอันตรายที่สุดในโลกซึ่งมีพิษในการโจมตีหัวใจ ระบบประสาท และเซลล์ผิวหนัง พิษนี้จะสร้างความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส มีรายงานว่าเหยื่อที่เป็นมนุษย์จะเกิดอาการช็อคและจมน้ำหรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวก่อนที่จะขึ้นถึงฝั่งด้วยซ้ำ ผู้รอดชีวิตจะมีอาการเจ็บปวดอยู่หลายสัปดาห์และมักจะมีความหวาดผวาอย่างมากในบริเวณที่สัมผัสกับหนวดแมงกะพรุน แมงกะพรุนกล่องมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวต่อทะเล หรือนักพ่นพิษแห่งท้องทะเล มักอาศัยอยู่ในน้ำตามแนวชายฝั่งของออสเตรเลียตอนเหนือและทั่วอินโดแปซิฟิก มีสีฟ้าอ่อน โปร่งใส และได้ชื่อนี้มาจากรูปร่างที่เหมือนลูกบาศก์ มีหนวดมากถึง 15 เส้นที่งอกออกมาจากแต่ละมุมของช่วงตัวและสามารถยืดยาวได้ถึง 10 ฟุต (3 เมตร) หนวดแต่ละเส้นจะมีเซลล์พิษอยู่ประมาณ 5,000 เซลล์ซึ่งไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยการสัมผัสแต่โดยการพบสารเคมีจากชั้นผิวภาพนอกของเหยื่อ แมงกะพรุนกล่องเป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาอย่างก้าวไกลกว่าแมงกะพรุนทั่วไป ด้วยการพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนที่มากกว่าการล่องลอยโดยการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วถึงสี่น็อตท่ามกลางทะเล แมงกะพรุนกล่องมีดวงตาเกาะกลุ่มกันหกกลุ่มอยู่บนทั้งสี่ด้านของลำตัว แต่ละกลุ่มจะมีดวงตาหนึ่งคู่ซึ่งมีเลนส์ตา เรตินา ตาดำและแก้วตาที่มีประสิทธิภาพสูง แม้ว่าจะไม่มีระบบประสาทส่วนกลาง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าแมงกะพรุนพวกนี้มีกระบวนการในการมองเห็นอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น